วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Unit 5


Home work  unit 5
1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง
เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย เช่น
1.             การเงิน อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
 
2.             การละเมิดลิขสิทธิ์ การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
 
3.             การเจาะระบบ การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
 
4.     การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว 






2.อธิบายความหมายของ
Hacker ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมากสามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำหน้าที่การงานของตนเอง
Cracker บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมาย เพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัว มีความหมายเดียวกับ Hacker แต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการ กระทำ
สแปมเมล์ คือการส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัว และผิดกฎหมาย
ม้าโทรจันทร์ เป็นโปรมแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้วก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที มักถูกแนบมากับอีการ์ด อีเมล์ หรือการดาวน์โหลดโปรแกรมมาจากอินเตอร์เน็ต
สปายแวร์ เป็นโปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนาเพื่อสร้างความรำคาญให้ผู้ใช้งาน เช่น หน้า Pop up โฆษณา
3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5 ตัวอย่าง
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ประวัติส่วนตัว



วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

55243269053นางสาวปวีณา แม็คเค


บทที่ 3

1.ขั้นตอนการประมวลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ 1. ขั้นเตรียมข้อมูล 1.1 การลงรหัส1.2 การตรวจสอบ1.3 การจำแนก1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล 2.1 การคำนวณ 2.2 การเรียงลาดับข้อมูล 2.3 การสรุป 2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์  เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนาเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละระบบ
ตอบ       1.บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
และนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
2.ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
3.ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น
4.เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
5.ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมดเป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
6.ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ แฟ้มข้อมูลพนักงาน 1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
                                                2.รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
                                                3. กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
               
4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
ตอบ แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแกรมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อกับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้

55243269053นางสาวปวีณา แม็คเค


Homework unit 4
1.สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียอย่างไร จงเปรียบเทียบ
ตอบ 1) สายคู่บิดเกลียว(twisted pair)
       - สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP)
  
ข้อดี  ลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกรียวแบบหุ้มฉนวน 
ข้อเสีย  ส่งได้ระยะทางไม่เกินร้อยเมตร
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP)
  
ข้อดี  มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์
  ข้อเสีย  แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
2) สายโคแอกเชียล (coaxial)
ข้อดี  เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก
ข้อเสีย ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย  จำกัดระยะทาง
3) เส้นใยนำแสง (fiber optic)
ข้อดี มีความปลอดภัยในการส่งสูง เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด เหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก
ข้อเสีย การบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้

2. การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ
มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที 
3.หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรการศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (Lan topology) แบบใดเพราะเหตุใด
ตอบ 2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)  ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่ การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
4. อินเตอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
ตอบ 1. สามารถเรียนผ่านทางระบบการสื่อสารทางไกลได้ เปรียบเสมือนเรียนในห้องเรียน
2. เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ สามารถค้นหาความรู้ได้จากทั่วทุกมุมโลก
3. สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้รับได้อย่างรวดเร็ว ผ่านทางภาพ เสียง วีดีโอ

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

55243269053นางสาวปวีณา แม็คเค

1.1   ตอบ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 1) หน่วยรับเข้า  2)หน่วยประมวลผลกลาง  3)หน่วยส่งออก
1.2 ตอบ ชุดคำสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ชนิดของซอฟแวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟแวร์ระบบ และ ซอฟแวร์ประยุกต์
1.3   ตอบ บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งได้เป็น 4 ระดับดังนี้ 1) ผู้จัดการระบบ  2) นักวิเคราะห์ระบบ 3)โปรแกรมเมอร์  4)ผู้ใช้
1.4   ตอบ ข้อแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่อยู่ในรูปของตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อมูล
1.5   ตอบ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย
2. ตอบ หอพักหรือโรงแรม  ใช้เก็ยข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ หมวดหมู่ เป็นการนำข้อมูลมาจัดการ จัดระเบียบเรียบเรียงใหม่ให้ง่ายต่อการเข้าใจของเรามากที่สุด กระบวนการที่สำคัญอีกเช่นกัน คือ ในแง่ชองการสื่อสาร เช่นการใส่รหัสคีย์การ์ดเพื่อความสะดวกรวดเร็วของลูกค้า และยังสามารถนำไปใช้ในการลดข้อผิดพลาดในการทำงานของทางโรงแรมอีกด้วย 

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

55243269053นางสาวปวีณา แม็คเค


1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง
สารระสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประโยชน์ต่อผู้ใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ข้อมูล     1.1) การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่เก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับ การ ใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็น แฟ้มประวัติ นักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
            1.2) การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัด เรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดังตัวอักษร การจัดเรียงชื่อ คน ในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย
             1.3) การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
           1.4) การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลข ที่สามารถ นำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้น การสร้างสารสนเทศจากข้อมูล จึงอาศัย การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
ฐานความรู้
1.             ความรู้ที่อยากจะถ่ายทอด เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสารทสัมผัสและสร้างประสบการณ์ต่างๆ
2.        ความรู้ที่เห็นได้ชัด เป็นความรู้ที่สามารถนำมาถ่ายทอดได้เป็นเกณฑ์ สูตร สมการ หรือการแทนด้วยตัวหนังสือ
3.             ความรู้ภายในองค์กรที่เห็นได้ชัด เป็นการสร้างองค์กรความรู้และประสบการณ์ขึ้นภายในองค์กร
2. โครงสร้างสาระสนเทศ มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศนั้นควรตีความในความหมายกว้างที่ไม่ได้หมายความเฉพาะเครือข่าย (network) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์เครื่องปลายทางที่เกี่ยวข้อง (relevant terminal equipment) ฐานข้อมูล  (information databases) และซอฟต์แวร์และการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ด้วย ดังนั้นคำนิยามในความหมายอย่างกว้างจึงมีความหมายรวมทั้ง อุปกรณ์รับส่งสัญญาณในทางกายภาพ (physical transmission) และการสลับสัญญาณ (swithing capacity) อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral equipment) ที่นำมาใช้กับเครือข่าย การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ และกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นแม้กระทั่ง สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (Nationallnstitute of Standards and Technology :NIST) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายชองโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติในความหมายกว้าง เช่นกัน
โดยประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ ได้แก่
1.             อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Equipment)  เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ สายเคเบิ้ล ไฟเบอร์ออพติก เครือข่ายคลื่นไมโคเวฟ (microwave nets) ฯลฯ
2.             สารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสาร (Information) ไม่ว่าจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใดก็ตาม เช่น ภาพ เสียง เอกสาร ฐานข้อมูล ฯลฯ
3.             โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการประยุกต์การใช้งาน (Application and software) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์ บริหารจัดการ ฯ
4.             มาตรฐานของเครือข่ายและรหัสที่ใช้ในการส่งผ่าน (Network standard and transmission codes)
5.             ทรัพยากร (People) สำหรับประเทศไทยตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3.วิวัฒนาการของระบบสาระสนเทศ
                ยุคแรกเรียกว่า ยุคการประผลข้อมูล (Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล
                ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆเรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
                ยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ