บทที่ 3
1.ขั้นตอนการประมวลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้กี่วิธี
อะไรบ้าง
ตอบ 1. ขั้นเตรียมข้อมูล 1.1 การลงรหัส1.2 การตรวจสอบ1.3
การจำแนก1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล 2.1 การคำนวณ 2.2
การเรียงลาดับข้อมูล 2.3 การสรุป 2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ
อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนาเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากเล็กไปใหญ่
พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละระบบ
ตอบ 1.บิต
(Bit) คือ
ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
และนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
และนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
2.ไบต์ (Byte)
หรือ อักขระ (Character) ได้แก่
ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0,
1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1
ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
3.ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น
4.เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป
ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น
ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น
1 เรคคอร์ด
5.ไฟล์ (Files)
หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่
เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมดเป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท
เป็นต้น
6.ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น
3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่
สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ แฟ้มข้อมูลพนักงาน 1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
3.
กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
ตอบ แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล
เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแกรมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อกับผู้ใช้ทุก
คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น